การก่อสร้างต้องมีมาตรฐานวิศวกรรม

การก่อสร้างต้องมีมาตรฐานวิศวกรรม โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน ฉะเชิงเทรา พายุถล่มครึ่งชั่วโมง โบสถ์สแตนเลส มูลค่า 12 ล้านพังครืนทั้งหลัง (คลิป)


มีผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพังไว้อย่างน่าสนใจ

จากลิ้งค์ https://www.facebook.com/524763004364387/posts/1265928800247800/

06/05/62 กระผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ตรวจสอบสาเหตุโบสถ์สแตนเลสพังหลังจากเกิดแรงลมและฝนตก จ.สุพรรณบุรี (ตรวจสอบเป็นกรณีศึกษา) และได้ขออนุญาตจากทางวัดเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้แก่วิศวกร และช่างก่อสร้างทั่วไป โดยมีข้อมูลคร่าวๆคือ โบสถ์มีขนาด 6.00×14.00 ม.,สูง 12.00 ม. ไม่รวมพื้นยกระดับ (ขนาดโดยประมาณ) ความหนาแผ่นสแตนเลสพับที่ใช้ทำเสา หนา 1.5 มม. (โดยประมาณ) ภายในเสากลวง จากการสำรวจ ดังแสดงในภาพถ่าย พบข้อสังเกตหลายประการ คือ เพลทฐานเสาเจาะฝังพุก 8-M10 ลึก 50 มม. บางต้นก็ไม่ครบ (ไม่มี J-bolt), การเชื่อมเป็นการเชื่อมเป็นจุดๆไม่เชื่อมรอบไม่ต่อเนื่อง, แผ่นสแตนเลสบางมากจนฉีกขาด, รอยต่อระหว่างปลายเสากับโครงหลังคาเชื่อมเป็นจุดๆ เป็นต้น ขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดมาก ซึ่งกระผมเชื่อว่า ท่านทั้งหลายสามารถพิจารณาหาข้อสันนิษฐานได้เองไม่ยากโดยพิจารณาจากภาพถ่าย ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์
แต่ประเด็นสำคัญที่คิดขึ้นมาได้หลังจากตรวจสอบคือ หากท่านวิศวกรท่านใดพบเห็นอาคารที่สร้างขึ้นมาแล้วมีความเห็นว่าไม่ปลอดภัย เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะตักเตือน หรือให้คำแนะนำเจ้าของอาคาร หรือแนะนำ ผรม. อันนี้ผมก็ไม่ทราบ เพราะจากประสบการณ์เก่าๆกระผมเคยเตือนแล้ว (อดีต) และมันทำให้ผมก็อยู่ในสถานะการณ์ที่ไม่ปลอดภัย จึงไม่ทราบต้องทำอย่างไร เพื่อนๆสามารถแนะนำได้นะครับ
อีกประการหนึ่ง ชาวบ้านที่วัดบอกว่า ผรม. ได้ก่อสร้างโบสถ์แบบนี้มาหลายที่แล้ว ทางวัดจึงไว้ใจให้ก่อสร้าง ซึ่งทำให้กระผมอดสงสัยไม่ได้ว่า “วัดไหนบ้าง?!” (ไม่กล้าถาม)

#วุฒิวิศวกรโยธา
#HeavyLifting
#SocketFooting
#PrecastColumn
#เซ็นรับรองแบบ
#ตรวจสอบโครงสร้าง
#สีกันไฟ

 

ดูคลิปจากยูทูปได้ครับ https://youtu.be/Ly8xZ07owiw

ขอบคุณข้อมูลจากเฟสบุ๊คเพจ https://www.facebook.com/wuttiyota2144/