เมื่อผู้รับเหมาทิ้งงาน ต้องทำอย่างไร คำแนะนำจาก สคบ. รู้ไว้ได้ประโยชน์

เมื่อผู้รับเหมาทิ้งงาน ต้องทำอย่างไร คำแนะนำจาก สคบ. รู้ไว้ได้ประโยชน์


จากสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับพบว่า เรื่องร้องเรียนของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ยังคงมียอดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง

ซึ่งสภาพปัญหา โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจองแต่กู้ไม่ผ่าน ปัญหาก่อสร้างล่าช้า ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิได้ และเรื่องของ ผู้รับเหมาทิ้งงาน เป็นต้น สำหรับเรื่องผู้รับเหมาทิ้งงานเป็นปัญหาลำดับต้นๆที่มีการร้องเรียนเข้ามา สคบ.ซึ่งใน วันนี้จะยกกรณีศึกษามาเพื่อแนะนำแนวทาง

ข้อแนะนำในการป้องกันและวิธีรับมือกับกรณีผู้รับเหมาละทิ้งงานกัน เรื่องมีอยู่ว่ามีผู้บริโภคเดินทางเข้ามาร้องเรียนกับ สคบ. ว่าได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้าน กับผู้รับเหมา โดยทำสัญญากันอย่างถูกต้องและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่กำหนด แต่ผู้รับเหมาทำการก็สร้างล่าช้า ละทิ้งงานและหยุดดำเนินการก่อสร้าง ทำให้ได้รับความเดือดร้อน คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้พิจารณาจาก หลักฐานพบว่าผู้รับเหมาละทิ้งงานและเป็นฝ่ายผิดสัญญาจริง ผู้บริโภคและจึงได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายเนื่องจากผู้รับเหมาปฏิบัติผิดสัญญา ผู้บริโภคได้ชำระเงินไปแล้วจำนวนหนึ่งสำหรับ การก่อสร้าง แต่ปริมาณงานที่ได้ดำเนินการก่อสร้างคำนวณแล้วไม่ถึงเงินที่จะจ่ายไป จึงให้ดำเนินคดีทางแพ่ง และให้ชำระค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย จากกรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าการจ้างผู้รับเหมาการทำสัญญาเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องให้ ความสำคัญต้องทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน กำหนดงวดแต่ละงวดอย่างชัดเจนเพราะหากเกิด ปัญหาสามารถใช้สัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐานในการเอาผิดได้ ซึ่งการเอาผิดหรือร้องเรียน สามารถทำได้หลาย วิธีการ ดังนี้

  1. นัดไกล่เกลี่ยด้วยตนเอง
  2. ร้องเรียนหน่วยงาน
  3. ฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภค

ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่