26 ข้อ ควรรู้สำหรับผู้กำลังจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ เเละอาคารทุกประเภท

26 ข้อ ควรรู้สำหรับผู้กำลังจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ เเละอาคารทุกประเภท


ข้อ 1. อาคารพักอาศัยรวม หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว

ข้อ 2. อาคารขนาดใหญ่ หมายถึง อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2000 ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15.00 เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1000 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 2000 ตารางเมตร…. โดยสรุปให้เข้าใจง่ายดังนี้

ประเภทที่ 1 พื้นที่เกิน 2000 ตร.ม. ไม่ว่าจะสูง กี่ชั้น
ประเภทที่ 2 ความสูงเกิน 15.00 ม. และพื้นที่เกิน 1000 ตร.ม.

ข้อ 3 พื้นที่อาคาร หมายความว่ (กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ข้อ 1) พื้นที่ของพื้นอาคารแต่ละชั้นที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ภายในขอบเขตด้านนอกของคานหรือภายในพื้นที่นั้น หรือภายในขอบเขตด้านนอกของผนังอาคาร และหมายความรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย แต่ไม่รวมพื้นดาดฟ้าและบันไดนอกหลังคา

… สรุป คิดจากกรอบอาคารเข้ามา
การใช้ ศูนย์กลางเสาในการคิด ถือว่า ผิด ตามเจตนาของ กม.

ข้อ 4 ดาดฟ้า หมายความว่า พื้นบนสุดของอาคารที่ไม่มีหลังคาคลุม และบุคคลสามารถขึ้นไปใช้สอยได้

ข้อ 5 พื้น หมายความว่า (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 1) พื้นที่ของอาคารที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ภายในขอบเขตของคานหรือตงที่รับพื้น หรือภายในขอบเขตของผนังอาคารรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย

ข้อ 6 ถ้าเป็นอาคารสูง ไม่คิดพื้นที่ดาดฟ้าเป็นพื้นที่รวมอาคาร แต่หากเป็นอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูงไม่เกิน 15.00 ม. คิดรวมพื้นดาดฟ้าบ้าง-ไม่คิดบ้าง… ในอาคารสูงไม่เกิน 15.00 อย่าสร้างบันไดขึ้นไป แก้ไขโดยมีห้องลิฟท์และ MANHOLE บันไดทางดิ่ง ขึ้นไป SERVICE

26 ข้อ ควรรู้สำหรับผู้กำลังจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ เเละอาคารทุกประเภท
26 ข้อ ควรรู้สำหรับผู้กำลังจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ เเละอาคารทุกประเภท

ข้อ 7 การวัดความสูงอาคารให้วัดจากพื้นดินจนถึงดาดฟ้า ในกรณีมีหลังคาคลุมให้นับจากพื้นถึงยอดจั่ว(ไม่นับหลังคาห้องลิฟท์-บันได)– สูงเกิน 15.00 ม.แต่ไม่เกิน 23.0 ม.มีพื้นที่เกิน 1000 ตร.ม.เป็นอาคารขนาดใหญ่

-สูงเกิน 23.00 ม.เป็นอาคารสูง

ข้อ 8 อาคารสูง หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้มีความสูงตั้งแต่ 23.00 ม.ขึ้นไป

ข้อ 9 อาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้น และแต่ละชั้นใดชั้นหนึ่งสูงไม่เกิน 5.00 ม.วิศวกรผู้ออกแบบ เป็น ภย.ได้ เกินจากนั้นต้องใช้ สย.

ข้อ 10 อาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น ภย.เซ็นตฺ์คุมงานได้ แต่ออกแบบไม่ได้

ข้อ 11 ไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถ

ข้อ 12 เป็นอาคารขนาดใหญ่ต้องมีที่จอดรถ

-ใน กทม. พื้นที่อาคาร 120 ตร.ม./ 1 คัน เศษคิดรวมเป็น 1 คัน
– ในเขตเทศบาล ท่้องถิ่น 240 ตร.ม./ 1 คัน เศษคิดรวมเป็น 1 คัน

ข้อ 13 ทางเข้าที่จอดรถหากเป็น 2 เลน ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 ม.

เลนเดียวกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 ม.

ข้อ 14 ขนาดของของที่จอดรถต้องกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 ม.

– ความยาว หากจอดขนานกับทางเข้า ต้องยาวไม่น้อยกว่า 6.00 ม.
– หากจอดเป็นมุมองศา 30-90 เป็นทาง 2 เลนยาว 5.00 เป็นทางเลนเดียวยาว 5.50 ม.

ข้อ 15 ด้านหน้า ถ้าไม่ติดทางสาธารณะต้องเว้น 6.00 ม.
หากติดทางสาธารณะที่กว้างน้อยกว่า 10.0 ม.ต้องเว้นระยะจากศูนย์กลาง
ถนนไม่ต่ำกว่า 6.00 ม
หากถนนสาธารณะกว้าง 10.00-20.00 ม.ต้องเว้น 1/10 ความกว้างถนน
หากถนนสาธารณะกว้าง 20.00 ม.ขึ้นไปต้องเว้น 2.00 จากแนวที่ดิน
(แต่ต้องคำนึงถึงระยะ SET BACK (2L=H) ด้วย)

ข้อ 16 ระยะ SET BACK
(กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ข้อ 44) ความสูงอาคารไม่ว่าจากจุดใดจุดหนึ่ง ต้องไม่เกิน 2 เท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะทีอยู่ใกล้อาคารนั้นมากที่สุด (หากติดถนน 2 เส้น/ให้ใช้เส้นกว้างกว่า)

ข้อ 17 ระยะ SET BACK กับระยะร่นตามข้อ 15 อันไหนมากกว่า ให้ยึดอันนั้น

ข้อ 18 ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง ระเบียง บล็อคแก้ว กันสาดหรือส่วนยื่นทางสถาปัตยกรรม ที่ยื่นเกิน 0.50 ม.

ข้อ 19 ระยะร่นด้านที่ไม่ติดถนนสาธาณะ
– มีช่องเปิดสูงไม่เกิน 9.00 ม.เว้น 2.00 ม. สูงเกิน 9.00-23.00 ม.เว้น 3.00 ม.
– ผนังทึบ /สูงไม่เกิน 15.0 ม.เว้น 1.00 ม./สูงเกิน 15.00 แต่ไม่ถึง 23.00 ม. เว้น 2.00 ม.

ข้อ 20 บันไดอาคารพักอาศัยรวมต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 ม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 ซม. ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม.

ข้อ 21 ทางเดินกลางต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50

ข้อ 22 ขนาดห้อง(รวมระเบียง)ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20.00 ตร.ม.

ข้อ 23 อาคารที่สูง 4 ชั้น และสูง 3 ชั้น แต่มีพื้นที่ดาดฟ้าเกิน 16.00 ตร.ม.ต้องมีบันไดหนีไฟ

ข้อ 24 บันไดหนีไฟ
– หากเป็นผนังทึบสูงไม่เกิน 15.00 กันระยะร่น 0.50 หากสูงเกิน 15.00 ม. กันแนว 1.00 ม.
– ต้องก่อล้อมด้วยวัสดุทนไฟ แต่มีพื้นที่ระบายอากาศ(ช่องเปิด) รวมแล้วไม่น้อยกว่า 1.40 ตร.ม.
– ชันได้ไม่เกิน 60 องศา มีชานพักทุกชั้น
– ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 25 ซม.ยาวไม่น้อยกว่า 80 ซม.
– ประตูบันไดหนีไฟ ต้องเป็นประตูทนไฟ มีโช๊คอัพติด เปิดผลักเข้าสู่บันไดหนีไฟในชั้น 2 ขึ้นไป ชั้นล่างเปิดออกสู่ที่โล่ง
– หน้าบันไดหนีไฟต้องมีพื้นว่างยาวไม่น้อยกว่า 1.50 ม.
– มีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกบันไดหนีไฟเรืองแสง มีไฟฉุกเฉิน

ข้อ 25 อาคารสูงไม่เกิน 23.00 ม. ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีลิฟท์หรือลิฟท์ดับเพลิง (แต่ในทางปฎิบัติมักใช้แค่ 5 ชั้นกรณีไม่มีลิฟท์/ 6 ชั้นขึ้นไปควรมีลิฟท์)

ข้อ 26 ติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยและเครื่องดับเพลิงแสดงในแบบขออนุญาต

ขอบคุณความรู้ดีๆจาก http://jp-builder.com และ asa.or.th